แผนกการให้บริการ




บริการรักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน

                      ให้บริการการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ทุกประเภทด้วยความรวดเร็ว ปลอดภัย ได้มาตราฐานและพึงพอใจ
ขั้นตอนการรับบริการ 5 ขั้นตอน
1. การคัดกรอง   โดยพยาบาลวิชาชีพ และผู้ช่วยเหลือผู้ป่วยที่จุดคัดกรอง
กิจกรรม     - ผู้ป่วยได้รับการวัดสัญญานชีพ ซักประวัติ ประเมินแยกประเภทผู้ป่วย โดยพยาบาลวิชาชีพ
                - ญาติได้รับคำแนะนำให้ทำบัตรและตรวจสอบสิทธิการรักษา
            (** สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการย้ายโรงพยาบาล หรือส่งต่อการรักษา เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ให้ติดต่อศูนย์ประสานงานการส่งต่อ ก่อนที่จะนำผู้ป่วยมารับการรักษา**)
2. การพยาบาลเบื้องต้น   โดยพยาบาลวิชาชีพ
กิจกรรม     - ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลเบื้องต้นตามภาวะเร่งด่วน
3. การตรวจวินิจฉัย  โดย แพทย์
กิจกรรม      -  ซักประวัติเพิ่มเติม
                 -  การตรวจร่างกาย
                 -  การส่งตรวจเลือด ปัสสาวะ เอ็กซเรย์ และตรวจพิเศษอื่นๆ
4. การวางแผนและการรักษาพยาบาล โดยแพทย์และพยาบาลวิชาชีพ
กิจกรรม      - ผู้ป่วยได้รับการวางแผนและรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง รวดเร็วและปลอดภัย
5. กิจกรรมดูแลรักษาและประเมินซ้ำ โดย แพทย์และพยาบาลวิชาชีพ
กิจกรรม      - ผู้ป่วยได้รับยา  สารน้ำ หัตถการที่ถูกต้องต่อเนื่อง ได้รับการเตรียมผ่าตัด ที่รวดเร็ว ไม่มีภาวะแทรกซ้อน หรือได้รับการดูแล
                   โดยแพทย์เฉพาะทาง รวดเร็วเหมาะสม
6. กิจกรรมต่อเนื่องและการจำหน่าย โดยแพทย์และพยาบาลวิชาชีพ
กิจกรรม      - ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่อง การนอนโรงพยาบาล ส่งต่อการรักษา หรือ กลับบ้าน โดยที่ผู้ป่วยและญาติเข้าใจและสามารถ
                   ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง






บริการงานห้องสังเกตอาการ 
                   ให้บริการผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนเเรงถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล เเต่จำเป็นต้องติดตามอาการอย่างต่อเนื่องภายใน  24 ชั่วโมง และผู้ป่วยที่ต้องการได้รับการรักษาโดยการให้เลือด ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยรอ Admit  ผู้ป่วยหลังทำหัตถการ เช่น ขูดมดลูก ทำหมันหรือ Myelogram ผู้ป่วยที่ทำ Blood letting  ผู้ป่วยรอตรวจ OPD ตอนเช้า ไม่สามารถกลับบ้านได้เนื่องจากบ้านไกล ผู้ป่วยที่จำหน่ายจากห้องฉุกเฉินเเล้วรอรถโรงพยาบาลอื่นมารับ และผู้ป่วยที่อยู่ใน Criteria ดังต่อไปนี้ Acute fever (ไข้ < 72 ชม.)ที่เป็น Viral Infection, Diarrhea (dehydrate <10%), Neurosing (Mide head injury coma score 15), Sprain, Hypoglycemia(Non coma), Asthma





บริการงานผ่าตัดเล็ก

                    ให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่ผ่าตัด เย็บเเผล ตกเเต่งบาดเเผล ฝังยาคุมกำเนิด/เอายาคุมกำเนิดออก ปลูกถ่ายผิวหนัง โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ อย่างปลอดภัยได้มาตราฐานและพึงพอใจ






บริการงานรักษาพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุ(EMS) อุบัติเหตุหมู่
ให้บริการในภาวะฉุกเฉินในด้านต่างๆ เช่น อุบัติเหตุทางท้องถนน ภาวะวิกฤตของโรคที่คุกคามต่อชีวิต เช่น อาการชัก โรคหัวใจวายเฉียบพลัน เเละ อื่นๆ ที่จำเป็นต้องได้รักการช่วยเหลือทางการเเพทย์โดยเร่งด่วน ซึ่งสามารถเรียกได้ โดยตรงที่ เบอร์ 1669







บทบาทหน้าที่คณะกรรมการศูนย์พึ่งได้
     1. คัดกรองและช่วยเหลือผู้ถูกกระทำรุนแรง โดยยึดแนวทางปฏิบัติในการทำงานของ ทีมสหวิชาชีพ
     2. จัดระบบและพัฒนาระบบบริการในการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย
     3. ติดตามประเมินผลเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
     4. เป็นศูนย์ข้อมูลและประสานงานทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล
การดำเนินการ
      1. ทบทวนขั้นตอนแนวทางการปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำรุนแรง
     2. จัดทำคู่มือแนวทางการให้บริการในการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำรุนแรงในโรงพยาบาล
     3. จัดกิจกรรมในวันยุติความรุนแรงในเด็กและสตรีในวันที่ 25 พฤศจิกายน ร่วมกับ เครือข่ายระดับจังหวัด
     4. จัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาล
     5. ประชุมจัดหาสถานที่ศึกษาดูงาน กำหนดเวลา-กิจกรรม ประสานราชการกับหน่วยงานที่จะศึกษาดูงาน
     6. ศึกษาดูงานตามหัวข้อ 2.5
     7. ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับศูนย์พึ่งได้ในการปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่
     8. จัดนิทรรศการร่วมกับโรงพยาบาลในวันที่ 12 สิงหาคม
     9. รายงานผลการปฏิบัติงานรายเดือน ในระดับจังหวัดต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
    10. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานผ่านอินทราเน็ต
    11. ประชุมเพื่อการแก้ปัญหา และประเมินผลการดำเนินงาน
    12. พัฒนาการบันทึกข้อมูลผู้รับบริการโดยเฉพาะในส่วนของนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
    13. นำข้อมูลจากแบบบันทึกมารวบรวมโดยกระบวนการทางสังคมสงเคราะห์ ดังนี้
              - การค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริงทางด้านสังคม ( Fact Finding )
              - การวินิจฉัยหรือประเมินปัญหา ( Diagnosis or Assessment )
              - การวางแผนให้ความช่วยเหลือ ( Planning for Intervention )
              - การดำเนินงานตามแผน (Implementation)
              - การติดตามและประเมินผล ( Follow up and Evaluation )
   14. สรุปและนำเสนอกรณีตัวอย่างในการจัดประชุมคณะกรรมการ และจัดประชุม conference ในรายที่จำเป็น
   15. รายงานสถิติผู้รับบริการในศูนย์พึ่งได้ของโรงพยาบาลนครพิงค์ต่อกระทรวงสาธารณสุข






บริการงานศูนย์ประสานงานการส่งต่อระดับเขต(Call center)
       เป็นศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรับประสานงานการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลอำเภอต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่เกินศักยภาพการรักษา เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลนครพิงค์ เเละประสานส่งต่อเมื่อเกินศักยภาพของทางโรงพยาบาล









ศูนย์เปล
                    ให้บริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลนครพิงค์ทั้งผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอกตามการร้องขอตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง ปลอดภัย และเป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการ